สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 ก.ย. 61



ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,243 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,186 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,490 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,500 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,135 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,915 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,937 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 22 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5242
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ตันละ 397-403 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 395-400 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่อุปทานข้าวในตลาดอยู่ในภาวะค่อนข้างตึงตัวจากการเกิด
น้ำท่วมและฝนตกในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) ประกอบกับมีข่าวว่า ฟิลิปปินส์จะประมูลซื้อข้าวอีก 250,000 ตัน และข่าวที่ประเทศอียิปต์สนใจจะซื้อข้าวจากเวียดนามเมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่วงการค้าคาดว่าการเพาะปลูกในฤดูถัดไปคือฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว (the autumn-winter crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีพื้นที่ลดลง
เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกในฤดูการผลิตฤดูร้อน (The summer-autumn crop) ที่เพิ่งมีการเก็บเกี่ยวไป เนื่องจากประสบกับภาวะน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูก
          สำนักงานศุลกากร (General Department of Vietnam Customs) รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้(มกราคม-สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.5 ล้านตัน โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วง
8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวประมาณ 606,500 ตัน ลดลงร้อยละ 6
เมื่อเทียบกับจำนวน 646,239 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า
ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.43 ล้านตัน มูลค่าประมาณ
2.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมมีการส่งออกข้าวประมาณ 500,000 ตัน มูลค่าประมาณ 236 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) คาดว่าสถานการณ์ส่งออกข้าวในช่วงที่เหลือของปีนี้จะยังคงสดใสจากการที่คาดว่าหลายประเทศจะมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น เช่น ประเทศจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อิรัก รวมทั้งประเทศในแถบแอฟริกา โดยในส่วนของประเทศฟิลิปปินส์คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 500,000-800,000 ตัน เพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง
          ขณะเดียวกันผู้ส่งออกกำลังมองหาตลาดส่งออกข้าวเหนียวแห่งใหม่เพื่อลดการพึ่งพาตลาดจีน เช่น
ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการที่เวียดนามส่งออกข้าวเหนียวไปยังตลาดอื่นได้ส่งผลให้ราคาข้าวเหนียวขยับสูงขึ้นจากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา
          ทั้งนี้ มีรายงานว่าเพื่อสนับสนุนการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ สถานประกอบการส่งออกข้าวของเวียดนามจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าประเภทอาหาร รวมถึงการดำเนินการค้าอย่างเป็นทางการแทนการค้าตามแถบชายแดน
          ตามที่กรมการแปรรูปสินค้าเกษตรและการพัฒนาตลาด กล่าวว่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560
การส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปี2561 มีปริมาณประมาณ 3.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และ
มีมูลค่าการส่งออกข้าวประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2
          ทั้งนี้ ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าข้าวจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด (ประมาณ 891,000 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียว) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.85 รองลงมา ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียร้อยละ 18.2 และประเทศฟิลิปปินส์ร้อยละ 10.4 อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมีปริมาณลดลงร้อยละ 27.7 และมูลค่าการส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2560 โดยในเดือนกรกฎาคม 2561 ประเทศจีนได้ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าข้าวจากประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงข้าวเหนียวเป็นร้อยละ 50 จากเดิมร้อยละ 5 ซึ่งส่งผลให้การส่งออกข้าวของเวียดนามลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ การควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น โดยหน่วยงานของประเทศจีน
ซึ่งได้เพิ่มมาตรฐานการกักกันสินค้าทางการเกษตรสำหรับผู้ส่งออก
          นาง Nguyen Thi Mai Linh อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม
เผยว่า ผู้ส่งออกข้าวกำลังพบกับปัญหาใหญ่ หลังจากที่จีนปรับขึ้นอัตราภาษีการนำเข้าข้าวจากประเทศสมาชิกอาเซียน
          ขณะที่ผู้ประกอบการ กล่าวว่า ไม่มียอดการสั่งซื้อข้าวเหนียวใหม่มีเพียงการส่งออกตามการสั่งซื้อเดิม
โดยเรียกร้องให้เกษตรกรลดการเพาะปลูกข้าวเหนียวและเปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวพันธุ์อื่นแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาประเทศจีนมากเกินไป เนื่องจากในปัจจุบันข้าวเหนียวมากกว่าร้อยละ 80 ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน
          ผู้ส่งออกข้าวรายหนึ่ง กล่าวว่า ประเทศเวียดนามและจีนมีชายแดนติดต่อกันยาว และมีการส่งออกข้าว
จำนวนมากผ่านชายแดนมาเป็นเวลานาน แต่ในขณะนี้ประเทศจีนต้องการที่จะควบคุมการค้าแถบชายแดน เพื่อจัดการด้านคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการขจัดสินค้าเลี่ยงภาษีและให้ผู้นำเข้าสินค้าทำการนำเข้าสินค้าตามรูปแบบอย่างเป็นทางการ ดังนั้น เพื่อรักษาตลาดการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน ผู้ประกอบการส่งออกข้าวของเวียดนามจึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับของจีน แต่ในขณะเดียวกัน ควรที่จะกระจายการส่งออกข้าวไปยังตลาดอื่นๆ ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาตลาดการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากเกินไป
          ทั้งนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้เชิญผู้นำเข้าข้าว
จากประเทศจีน 15 ราย มาหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวโดยตรงในเร็วๆน
          องค์การเกษตรและอาหารแห่งชาติ (The UN's Food and Agriculture Organization; FAO) พยากรณ์ว่า
ในปี 2561 นี้เวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 44.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับจำนวน 42.839 ล้านตัน ในปี 2560 โดยในฤดูการผลิตหลัก (winter/spring season paddy crop) (มีผลผลิตประมาณร้อยละ 45 ของผลผลิตทั้งหมด) ได้มีการเก็บเกี่ยวไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 20.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย และมีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก ส่วนในฤดูการผลิตรอง (summer/autumn paddy crop) (มีผลผลิตประมาณร้อยละ 35 ของผลผลิตทั้งหมด) มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 11.875 ล้านไร่ ซึ่งแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และฤดูการผลิตรอง
(the minor winter (10th month) crop) (มีผลผลิตประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด) กำลังอยู่ในช่วงเพาะปลูก ซึ่งเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 8.125 ล้านไร่
          ทั้งนี้ FAO คาดว่าในปี 2561 นี้ เวียดนามจะส่งออกข้าวประมาณ 7.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
          สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า บริษัท Vietnam Southern Food Corporation (Vinafood 2) กำลัง
ขอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเพื่อจำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเป็นร้อยละ 23 ขณะที่การถือครองหุ้นของรัฐบาลเวียดนามลดลงเหลือร้อยละ 51.43 หลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นจำนวนร้อยละ 23.57 ให้กับประชาชนและ พนักงาน และได้ออกหุ้นเสนอขายในสัดส่วนร้อยละ 25 ให้แก่นักลงทุนที่ไม่มีชื่อในประเทศ
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          จีน
          สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถระบายข้าวได้ 23,832 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3.35 จากที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 0.711 ล้านตัน) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,669 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 389.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติสามารถระบายข้าวได้ 30,798 ตัน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3.13 จากที่นำมาประมูลทั้งหมดประมาณ 0.984 ล้านตัน) โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,009 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 305.79 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          ญี่ปุ่น
          กระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture, Forests and Fisheries; MAFF) ประกาศเปิดประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tender) ในวันที่ 14 กันยายน 2561 นี้ มีกำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม-10 ธันวาคม 2561 โดยชนิดข้าวที่ประมูลประกอบด้วย ข้าวสารเมล็ดยาว (non-glutinous long grain) จากประเทศใด
ก็ได้ (Global tender) จำนวน 4 ล็อตๆ ละ 7,000 ตัน กำหนดส่งมอบระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม- 25 พฤศจิกายน 2561 และระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2561 และข้าวเมล็ดกลางของสหรัฐฯ (non-glutinous medium grain)
จำนวน 12,000 ตัน ส่งมอบระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม-20 พฤศจิกายน 2561
          นอกจากนี้ยังได้ประกาศเปิดประมูลนำเข้าข้าวแบบ SBS (Simultaneous Buy and Sell) ครั้งแรกของ ปีงบประมาณ 2562 (เมษายน 2561-มีนาคม 2562) ในวันที่ 26 กันยายน 2561 นี้จำนวน 25,000 ตัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,025 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 270.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,796 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 229.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 360.72 เซนต์ (4,680 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 366.53 เซนต์ (4,755 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 75.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ         
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.274 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.137 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน ของเดือนสิงหาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.05  และร้อยละ 12.44 ตามลำดับ     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.12 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.13 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32                                                    
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.55 บาท ลดลงจาก กก.ละ 19.75 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.01     
   
2.ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงเนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณอยู่ที่ 2.49 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 และผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.62 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ขณะที่การส่งออกลดลงซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 1.1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.1 จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,237 ริงกิตต่อตัน (540.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.3 ขณะเดียวกันสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชถั่วเหลืองส่งมอบในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวอยู่ที่ระดับ 2,245 - 2,274 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,206.94 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,220.03 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 565.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (18.62 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 567.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (18.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35       
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน          
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 


ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 827.44 เซนต์ (10.02 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 829.25 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 314.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 307.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.26
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.75 เซนต์ (20.15 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.28 เซนต์ (20.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.87


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 41.50 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ลดลงจาก 42.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.41 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ลดลงจาก 42.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.43
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ลดลงจาก 41.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.44
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.08 บาท ลดลงจาก 20.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.08 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.40
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.85 บาท ลดลงจาก 16.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.53
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.41 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51
 1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนตุลาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.29 บาท ลดลงจาก 49.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.71
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.14 บาท ลดลงจาก 47.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.75
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.58 บาท ลดลงจาก 44.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.58
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.90 บาท ลดลงจาก 34.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.33 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.96
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.04 บาท ลดลงจาก 48.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.72
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.89 บาท ลดลงจาก 47.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.84 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.76
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.33 บาท ลดลงจาก 44.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.58
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.65 บาท ลดลงจาก 33.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.33 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.97
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.86 เซนต์สหรัฐฯ (46.79 บาท) ลดลงจาก 145.12 เซนต์สหรัฐฯ (47.19 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.26 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.87
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.42 เยน (44.53 บาท) ลดลงจาก 158.82 เยน (46.06 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 5.40 เยน หรือลดลงร้อยละ 3.40
 
 

 
สับปะรด
 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.79
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 827.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 828.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 735.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 735.80 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 581.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 395.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.86 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 396.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.72 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 797.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.45 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.91
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 


ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.69 เซนต์ 
(กิโลกรัมละ 60.07 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 82.05 เซนต์ (กิโลกรัมละ 59.59 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.48 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,691 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,698 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,389 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,363 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,190 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,175 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.28


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.06  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.44 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 61.49 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 63 บาท )  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.96
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อชะลอตัวลงใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.09 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.39 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  34.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.48 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 3.96
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  282 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 281 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 280 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้   ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท  ทรงตัวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.06 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 กันยายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.11 บาท ราคาลดลงจาก กิโลกรัมละ 90.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 148.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.99 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.47 บาท      ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7- 13 ก.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา